ความเป็นมาของพาราลิมปิกเกมส์นั้นเริ่มต้นด้วยแนวคิดของ Sir Ludwig Guttman ซึ่งเป็นศัลยแพทย์ที่ใช้กีฬาเป็นส่วนหนึ่งของการบำบัดรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพทหารที่บาดเจ็บจากสงครามโลก ครั้งที่ 2 โดยได้มีการจัดการแข่งขันขึ้น ระหว่างทีมคนพิการจากสถานสงเคราะห์ Star & Garter และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล Stoke Mandeville ในระหว่างพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 14 ซึ่งประเทศอังกฤษเป็นเจ้าภาพจัดขึ้น ณ กรุงลอนดอน
จากความพยายามที่จะผลักดันให้กีฬาคนพิการได้กลายเป็นกีฬาระดับโลกสำหรับคนพิการทั่วไปเป็นมาอย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นองค์กรกีฬา พาราลิมปิก ต่อมาในปี ค.ศ. 1960 ได้มีการจัดการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิก อย่างเป็นทางการที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี ภายหลังกีฬาโอลิมปิก 2 สัปดาห์ ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นอย่างเป็นรูปแบบของกีฬาพาราลิมปิก ที่จัดคู่กับกีฬาโอลิมปิกมาทุกสมัย และได้มีการประกาศใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า " Paralympic Games " ในปีค.ศ. 1984 สมัยการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ที่นครลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา
พาราลิมปิกเกมส์ ได้ถูกจัดขึ้นแล้ว 12 ครั้ง ครั้งที่ 12 ซึ่งเป็นครั้งหลังสุดนี้ จัดขึ้นภายหลังกีฬาโอลิมปิก 2004 ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ระหว่างวันที่ 17 - 28 กันยายน พุทธศักราช 2547 มีการแข่งขัน 19 ประเภทกีฬา จำนวนนักกีฬาประมาณ 3,969 คน จาก 136 ประเทศ ประเภทของกีฬาได้แก่ ยิงธนู กรีฑา บาสเกตบอล บ็อคเชีย จักรยาน ขี่ม้า ฟุตบอล 7 คน ฟุตบอล 5 คน โกลด์บอล ยูโด ยกน้ำหนัก เรือใบ ยิงปืน ว่ายน้ำ เทเบิลเทนนิส วอลเลย์บอล วีลแชร์บาสเกตบอล วีลแชร์ฟันดาบ วีลแชร์รักบี้ วีลแชร์เทนนิส ในพาราลิมปิกเกมส์ครั้งที่ 12 นี้ ประเทศไทยส่งนักกีฬาคนพิการที่ผ่านการคัดเลือกของคณะกรรมการพาราลิมปิกสากล ( IPC ) จำนวน 43 คน เข้าร่วมแข่งขันในประเภทกีฬา 9 ประเภท ได้แก่ กรีฑา ว่ายน้ำ ยกน้ำหนัก บ็อคเชีย ยิงธนู วีลแชร์เทนนิส ยูโด ฟันดาบ และยิงปืน
ผลการแข่งขันปรากฎว่านักกีฬาคนพิการไทยได้
เหรียญทอง 3 เหรียญ จากสายสุนีย์ จ๊ะนะ (ฟันดาบ) จากพิเชษฐ์ กรุงเกตุ, เรวัตร ต๋านะ, ศุภชัย โกยทรัพย์, ประวัติ วะโฮรัมย์ (กรีฑา ได้ 2 เหรียญ) เหรียญเงิน 6 เหรียญ จากทองสา มารศรี (ยกน้ำหนัก) จากสมชาย ดวงแก้ว (ว่ายน้ำได้ 2 เหรียญ) จากวาสนา กาบไม้จันทร์ (ธนู) จากประวัติ วะโฮรัมย์ (กรีฑา) จากสาคร ขันทะสิทธิ์, รัตนา เตชะมณีวัฒน์ (เทนนิส)เหรียญทองแดง 6 เหรียญ จากสายสุนีย์ จ๊ะนะ (ฟันดาบ) จากพนม ลักษณะพริ้ม (ว่ายน้ำ) จากพัทยา เทศทอง (บ็อคเชีย) จากเรวัตร ต๋านะ (กรีฑา) จากสานิตย์ สงนอก (ว่ายน้ำ) จากพิเชษฐ์ กรุงเกตุ (กรีฑา)จำนวนเหรียญที่ได้รับ มาเป็นสถิติในลำดับที่ 35
จากความพยายามที่จะผลักดันให้กีฬาคนพิการได้กลายเป็นกีฬาระดับโลกสำหรับคนพิการทั่วไปเป็นมาอย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นองค์กรกีฬา พาราลิมปิก ต่อมาในปี ค.ศ. 1960 ได้มีการจัดการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิก อย่างเป็นทางการที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี ภายหลังกีฬาโอลิมปิก 2 สัปดาห์ ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นอย่างเป็นรูปแบบของกีฬาพาราลิมปิก ที่จัดคู่กับกีฬาโอลิมปิกมาทุกสมัย และได้มีการประกาศใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า " Paralympic Games " ในปีค.ศ. 1984 สมัยการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ที่นครลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา
พาราลิมปิกเกมส์ ได้ถูกจัดขึ้นแล้ว 12 ครั้ง ครั้งที่ 12 ซึ่งเป็นครั้งหลังสุดนี้ จัดขึ้นภายหลังกีฬาโอลิมปิก 2004 ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ระหว่างวันที่ 17 - 28 กันยายน พุทธศักราช 2547 มีการแข่งขัน 19 ประเภทกีฬา จำนวนนักกีฬาประมาณ 3,969 คน จาก 136 ประเทศ ประเภทของกีฬาได้แก่ ยิงธนู กรีฑา บาสเกตบอล บ็อคเชีย จักรยาน ขี่ม้า ฟุตบอล 7 คน ฟุตบอล 5 คน โกลด์บอล ยูโด ยกน้ำหนัก เรือใบ ยิงปืน ว่ายน้ำ เทเบิลเทนนิส วอลเลย์บอล วีลแชร์บาสเกตบอล วีลแชร์ฟันดาบ วีลแชร์รักบี้ วีลแชร์เทนนิส ในพาราลิมปิกเกมส์ครั้งที่ 12 นี้ ประเทศไทยส่งนักกีฬาคนพิการที่ผ่านการคัดเลือกของคณะกรรมการพาราลิมปิกสากล ( IPC ) จำนวน 43 คน เข้าร่วมแข่งขันในประเภทกีฬา 9 ประเภท ได้แก่ กรีฑา ว่ายน้ำ ยกน้ำหนัก บ็อคเชีย ยิงธนู วีลแชร์เทนนิส ยูโด ฟันดาบ และยิงปืน
ผลการแข่งขันปรากฎว่านักกีฬาคนพิการไทยได้
เหรียญทอง 3 เหรียญ จากสายสุนีย์ จ๊ะนะ (ฟันดาบ) จากพิเชษฐ์ กรุงเกตุ, เรวัตร ต๋านะ, ศุภชัย โกยทรัพย์, ประวัติ วะโฮรัมย์ (กรีฑา ได้ 2 เหรียญ) เหรียญเงิน 6 เหรียญ จากทองสา มารศรี (ยกน้ำหนัก) จากสมชาย ดวงแก้ว (ว่ายน้ำได้ 2 เหรียญ) จากวาสนา กาบไม้จันทร์ (ธนู) จากประวัติ วะโฮรัมย์ (กรีฑา) จากสาคร ขันทะสิทธิ์, รัตนา เตชะมณีวัฒน์ (เทนนิส)เหรียญทองแดง 6 เหรียญ จากสายสุนีย์ จ๊ะนะ (ฟันดาบ) จากพนม ลักษณะพริ้ม (ว่ายน้ำ) จากพัทยา เทศทอง (บ็อคเชีย) จากเรวัตร ต๋านะ (กรีฑา) จากสานิตย์ สงนอก (ว่ายน้ำ) จากพิเชษฐ์ กรุงเกตุ (กรีฑา)จำนวนเหรียญที่ได้รับ มาเป็นสถิติในลำดับที่ 35
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น