วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

วันเอดส์โลก 1 ธันวา


Red Ribbon (โบว์แดง)สัญลักษณ์ วันเอดส์โลก


โรคเอดส์เริ่มเป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ โดยการก่อตัวขึ้นในบางส่วนของโลกและเป็นอยู่ในหมู่ชนบางกลุ่มเท่านั้น แต่ในปัจจุบันมีการตรวจพบโรคนี้ทั่วโลก และอัตราผู้ป่วยโรคเอดส์เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกา
สำหรับในประเทศไทย นับตั้งแต่เริ่มมีโรคเอดส์เกิดขึ้นในประเทศตามรายงานครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๓ จำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคเอดส์มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้รัฐบาลจะประกาศเจตนารมณ์ที่จะแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ โดยมอบให้กระทรวงสาธารณสุขรับผิดชอบให้มีคณะกรรมการประสานงานเกี่ยวกับโรคเอดส์แห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน
กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดนโยบายและแผนการป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ระดับชาติสำหรับปี ๒๕๓๑-๒๕๓๔ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคเอดส์ลดผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจ ให้มีการประสานและร่วมมือกันระหว่างองค์การทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน แต่สถานการณ์ของโรคกลับแพร่กระจาย มากขึ้นและกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม กล่าวคือ เป็นที่เข้าใจกันว่าโรคนี้เกิดเฉพาะในกลุ่มชายรักร่วมเพศ กลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดที่ใช้เข็มฉีดยาเข้าเส้นร่วมกัน และกลุ่มที่มีความสำส่อนทางเพศ แต่ในปัจจุบันโรคนี้ได้แพร่กระจายเข้าไปในกลุ่มอื่นๆ ด้วย เช่น ผู้ที่ได้รับการบริจาคเลือดหรืออวัยวะที่มีเชื้อโรคเอดส์ ทารกในครรภ์มารดาที่ติดเชื้อเอดส์ และยังกระจายไปยังกลุ่มเยาวชน และผู้หญิงอีกด้วย ดังจะเห็นได้จากการรายงานสถานการณ์ผู้ป่วยเอดส์ทั่วโลกของโครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ หรือยูเอ็นเอดส์ (UNAIDS) ไว้ว่าในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ทั่วโลกมีผู้เป็นเอดส์ทั้งสิ้น กว่า ๓๘ ล้านคน
โดยในจำนวนผู้ติดเชื้อโรคเอดส์นี้ เป็นผู้ใหญ่ประมาณ ๓๑ ล้านคน เด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี อีก ๗ ล้านคน ในปีเดียวกันทั่วโลก มีผู้ป่วยโรคเอดส์ตายไปกว่า ๓ ล้านคน อีกทั้งข้อมูลขอองยูเอ็นเอดส์ยังระบุอีกว่า ตลอด ๒ ปีที่ผ่านมา มีผู้หญิง เป็นกลุ่มที่ติดเชื้อเอชไอวี มากขึ้นในทุกภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะผู้หญิงในเอเชียตะวันออก มีอัตราของการติดเชื้อเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ ๕๖ รองลงมาคือ ผู้หญิงในยุโรปตะวันออก และเอเชียกลาง ปัจจุบัน ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อเอชไอวี (ยังไม่ป่วยเป็นโรคเอดส์) สูงถึง ๓๙.๔ ล้านคน เทียบกับเมื่อปี ๒๕๔๕ มีเพียง ๓๖.๖ ล้านคน และปี ๒๕๔๖ มีอยู่แค่ ๓๘ ล้านคน ปัจจุบันทวีปเอเชีย มีอัตราเพิ่มของผู้ติดเชื้อมากกว่าร้อยละ ๕๐ ของผู้ติดเชื้อทั้งหมดทั่วโลก โดยในประเทศจีน อินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม เป็นประเทศต้นๆที่ได้รับเชื้อเพิ่ม เฉพาะรัสเซียประเทศเดียว ขณะนี้มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่ต่ำกว่า ๘๖๐,๐๐๐ คน ในบรรดาผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั่วโลก เกือบ ๔๐ ล้านคน ผู้ติดเชื้อประมาณ ๓๗ ล้านคน มีอายุระหว่าง ๑๕-๔๙ ปี ในจำนวนนี้เป็น เพศหญิง เกือบครึ่ง โดยเฉพาะผู้หญิงทั่วโลก ที่อยู่ในวัยตั้งแต่ ๑๕-๒๔ ปี กลายเป็นเหยื่อเอดส์รายใหม่ เพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ ๖๐ และเยาวชนหญิง วัยระหว่าง ๑๕-๑๙ ปี เป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่ ร้อยละ ๕๖ มีรายงานว่า เฉพาะทวีปแอฟริกา แถบทะเลทรายซาฮารา พบการติดเชื้อเอชไอวีในผู้หญิงสูงถึง ๑๓.๓ ล้านคน
ปัจจุบันประเทศต่างๆ ทั่วโลก ได้ตระหนักถึงอันตรายจากการติดต่อ และการป่วยเป็นโรคนี้จึงได้มีการพยายามหามาตรการเพื่อป้องกันและหยุดยั้งโรคเอดส์ให้เป็นผลสำเร็จ
องค์การอนามัยโลกจึงได้กำหนดให้วันที่ ๑ ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันเอดส์โลก ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๓๑ เป็นปีแรก โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ คือ ๑. เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงอันตรายจากการติดต่อและการเจ็บป่วยด้วยโรคเอดส์
๒. เพื่อสร้างเสริมและสนับสนุนให้มีมาตรการการป้องกันให้มากยิ่งขึ้นในสังคมทุกระดับ
๓. เพื่อให้มีการจัดกิจกรรมต่อต้านต่างๆ ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
๔. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการยอมรับและห่วงใยต่อผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อ
๕. เพื่อเผลแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
การจัดกิจกรรมรณรงค์ในวันเอดส์โลก จะเป็นการสร้างจิตสำนึกให้ทุกคนได้ให้ความเห็นใจและห่วงใยต่อผู้ติดเชื้อและผู้ป่วย ตลอดจนให้ทุกคนมีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ อันจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้การขยายตัวของโรคนี้ลดน้อยลง

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ฮือฮา! พบเต่าตนุเผือก คู่แรกในสยามๆๆๆๆๆๆๆ

ที่ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือ สัตหีบ จ.ชลบุรี
วันที่ 17 พฤศจิกายน พลเรือตรี จักรชัย ภู่เจริญยศ ผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (ผบ.สอ.รฝ.) ได้รับรายงานจาก น.อ.มนตรี จึงมั่นคง ผอ.ศสร.สอ.รฝ. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ต้องดูแลศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ว่า ไข่เต่าตนุที่ รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ซันซื่อ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ และทีมงานได้เก็บมาจากเกาะคราม และนำมาฟักไว้ที่ชายหาดทรายหน้าศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล ตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน ได้ฟักตัวออกมา พบว่ามีลูกเต่าแปลกตัวสีขาว หรือเต่าเผือก จำนวน 2 ตัว ปะปนมากับเต่าตนุที่เกิดมาพร้อมกัน
ในเบื้องต้นทั้ง 2 ตัว มีสุขภาพแข็งแรง มีการปล่อยให้คลานบนพื้นทราย และว่ายน้ำเพื่อขยายปอด แต่ไม่สามารถปล่อยคืนสู่ธรรมชาติได้ เนื่องจากเต่าเผือกมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ไม่สามารถอำพรางตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในทะเลได้ เมื่อลงไปในทะเลจะมีสีขาวแปลกกว่าชนิดอื่น ๆ จึงเป็นเป้าให้กับสัตว์ใหญ่ในการกัดกินเป็นอาหาร จำเป็นจะต้องเลี้ยง และดูแลอย่างดีในเรื่องของสุขภาพ ป้องกันการติดเชื้อโรคของลูกเต่า เพื่อให้ประชาชน เยาวชน นิสิต นักศึกษา ได้มาชื่นชมลูกเต่าเผือกคู่แรกแห่งสยาม เพราะคนไทยเชื่อกันว่า สัตว์ทุกชนิดที่เป็นสีเผือก ถือว่าเป็นสัตว์มงคลคู่บ้านคู่เมือง และมักจะมีคนนำไปถวายเลี้ยงไว้ในรั้วในวังเสมอมา
พลเรือตรี จักรชัย กล่าวว่า เท่าที่ติดตามข้อมูล เคยพบที่ประเทศออสเตรเลีย และประเทศแม๊กซิโก ส่วนในประเทศไทยยังไม่พบว่ามีเต่าตนุเผือกที่ไหนมาก่อน ถ้าเป็นเช่นนี้จริงเต่าตนุเผือก 2 ตัวนี้ ก็จะเป็นคู่แรกแห่งสยาม ซึ่งขณะนี้ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ดูแลอย่างดี และได้มี รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ซันซื่อ พร้อมคณะสัตวแพทย์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตรวจร่างกายเต่าทะเล รักษาโรค แนะนำเจ้าหน้าที่ในการดูแลเต่าอย่างถูกวิธี เพื่อต้องการให้ลดปริมาณการตายของลูกเต่าให้มากที่สุด

วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

Loy Kratong


Loy Kratong
(ou Loi Krathong, Thaï ลอยกระทง) est une fête célébrée chaque année dans toute la Thaïlande. Elle a lieu lors de la pleine lune du 12e mois du calendrier thaï lunaire traditionnel ; dans le calendrier occidental, ceci se produit généralement en novembre. Cette tradition a débuté à Sukhothai mais est à présent fêtée dans toute la Thaïlande, les festivités de Chiang Mai et d’Ayutthaya étant particulièrement célèbres. Dans le Nord du royaume, à Chiang Mai notamment, Loy Kratong est l’occasion d’un spectaculaire lâcher dans les airs de lanternes emportées par des ballons cylindriques à air chaud . Loy Kratong est l’une des fêtes amusantes et joyeuses de la tradition thaïe.
La fête des Lumières
Loi signifie "flotter". Un Krathong est un petit radeau d’une vingtaine de centimètres de diamètre, taillé dans la section d’un tronc de bananier (bien que les versions contemporaines utilisent souvent du polystyrène même si cette pratique tend à être abandonnée pour d’évidentes raisons écologiques), décoré de façon élaborée avec des feuilles de bananier, des fleurs, des bougies, et trois bâtons d’encens etc... Certains y ajoutent également une pièce en espérant en retour bonne fortune, ce qui fait surtout le bonheur des enfants qui iront à la pêche au Krathong une fois la fête terminée. Le Krathong a souvent la forme d’un lotus en fleur mais il peut aussi avoir l’apparence d’un cygne, d’une stupa, ou encore tout simplement du mont Méru. La fête est également l'occasion de concours de la plus belle embarcation. Durant la nuit de la pleine lune, de nombreux Krathongs ainsi réalisés sont lâches des bords d’une rivière, d’un canal, d’un lac ou d’un bassin. Les administrations, les entreprises et autres organisations en fabriquent de plus grands et de plus élaborés et ceux-ci sont souvent évalués lors de concours. A cela s’ajoutent des feux d’artifices et des concours de beauté.
Significations et symboles
Cette célébration a ses origines en Inde, dérivant de la fête
hindoue de Divâlî durant laquelle la déesse du Gange est remerciée par des lanternes flottantes pour avoir dispensé la vie tout au long de l’année. Selon les écrits du roi Rama IV en 1863, la festivité originellement brahmanique fut adaptée par les bouddhistes de Thaïlande comme une cérémonie en l’honneur du Bouddha. En plus de manifester leur vénération pour le Bouddha par de la lumière (la bougie sur le radeau), le lâcher de Kratongs par les Thaïs symbolise également le fait de laisser partir rancunes, colères et souillures afin de pouvoir repartir d’un bon pied. De la même façon, ils se coupent ongles et cheveux qui symbolisent les mauvais aspects de soi afin de les placer sur les radeaux. Nombreux sont les Thaïs qui pensent que faire flotter un Kratong leur portera bonheur et ils le font pour honorer et remercier Phra Mae Khongkha, l’équivalent thaï de la déesse Hindoue des eaux.